|
|
|
|
|
เทศบาลตำบลเนินมะปราง เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลเนินมะปราง ได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542 ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลเนินมะปราง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 |
|
|
|
|
|
เทศบาลตำบลเนินมะปราง ตั้งอยู่ท้องที่ตำบลเนินมะปราง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่ 7.76 ตารางกิโลเมตร (4,850 ไร่) |
|
|
|
ท้องฟ้าและก้อนเมฆ หมายถึง การมองการไกลในการพัฒนา และความโปร่งใสในการบริหาร |
ภูเขา หมายถึง ความสง่างาม เข้มแข็ง ความสามัคคีกลมเกลียว |
ต้นไม้และพื้นดิน ความอุดมสมบูรณ์ และความร่มเย็นเป็นสุขของท้องที่และประชาชนเทศบาลตำบลเนินมะปราง |
|
   |
|
   |
|
  
   |
|
|
|
ด้านเหนือ |
ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองพันชนะฝั่งทิศใต้ ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1115 ตอนสากเหล็ก-บ้านเนินมะปราง ตามระยะแนวเส้นตั้งฉาก 1,000 เมตรเป็นเส้นขนานกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1295 (ไปบ้านซำรัง) ถนนไปหมู่บ้านดงงูคลองห้วยไร่ ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ตามแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1115 ตอนสากเหล็ก - บ้านเนินมะปราง ตรงเชิงสะพานข้ามคลองบ้านมุงฝั่งทิศเหนือ ห่างจากทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1115 ตอนสากเหล็ก - บ้านเนินมะปราง ไปทางทิศเหนือระยะทาง 1,000 เมตร |
|
ด้านใต้ |
จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1115 ตอน สากเหล็ก - บ้านเนินมะปราง ระยะทาง 800 เมตร ไปทางทิศตะวันตกผ่านถนน รพช. หมายเลข 11004 (ไปบ้านหนองขอน) ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1115 ตอนสากเหล็ก - บ้านเนินมะปราง ไปทางทิศใต้ 800 เมตร ตรงเชิงสะพานข้ามคลองพันชนะฝั่งทิศตะวันตก |
|
ด้านตะวันออก |
จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1115 ตอนสากเหล็ก - บ้านเนินมะปราง ไปทางทิศใต้ผ่านทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1115 ตอนสากเหล็ก - บ้านเนินมะปราง ตรงเชิงสะพานข้างคลองบ้านมุงฝั่งทิศเหนือ ห่างจากทางหลวง หมายเลข 1115 ตอนสากเหล็ก - บ้านเนินมะปราง ไปทางทิศเหนือ ระยะทาง 1,000 เมตร |
|
ด้านตะวันตก |
จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1115 ตอน สากเหล็ก - บ้านเนินมะปราง ไปทางทิศเหนือ ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ตรงเชิงสะพานข้ามคลองพันชนะฝั่งทิศตะวันตกริมทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1115 ตอนสากเหล็ก - บ้านเนินมะปราง ฝั่งทิศเหนือจากหลักเขตที่ 5 เลียบริมคลองพันชนะ ฝั่งทิศตะวันตกไปทางทิศเหนือ ไปบรรจบกับหลักเขตที่ 1 |
|
    |
|
  
   |
|
|
|
เนื่องจากเทศบาลตำบลเนินมะปราง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ลักษณะอากาศโดยทั่วไปมีลักษณะร้อนชื้น แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ |

 |
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - พฤษภาคม สภาพอากาศร้อนพื้นดินแห้งแล้งแหล่งน้ำตื้นเขิน |

 |
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - ตุลาคม สภาพอากาศฝนตกชุกลมพัดแรงและมีน้ำป่าไหลบ่า มาจากเทือกเขาทางทิศตะวันออก บางครั้งเกิดน้ำท่วมไร่นาเสียหาย |

 |
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ สภาพอากาศหนาวเย็น |
|
|
|
|
|
ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรม ค้าขาย และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีตลาดสดเทศบาล และตลาดนัดทุกวันเสาร์ เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญ พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ข้าวโพด สวนผลไม้ ได้แก่ มะม่วง มะปราง ทุกเรียน ลำไย และที่สำคัญคือมะม่วง เป็นผลไม้ประจำอำเภอ เนินมะปราง ซึ่งในเขตเทศบาลมีชมรมผู้ปลูกมะม่วง ใช้เป็นจุดรับซื้อ - ขาย ของสมาชิกด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อเองในสวน ซึ่งบางรายตกลงราคากัน ข้ามปีก็มีเป็นการผูกขาดระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยการส่งออกไปยังต่างประเทศ สำหรับการปศุสัตว์ ประชากรส่วนใหญ่เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ สุกร เป็ด ไก่ ปลา กบ |
|
   |
|
   |
|
  
   |
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 3,188 คน แยกเป็น |

 |
ชาย 1,558 คน คิดเป็นร้อยละ 48.87 |

 |
หญิง 1,630 คน คิดเป็นร้อยละ 51.13 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,170 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 410.82 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
 |
ชุมชนที่ี่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
ลูกแสนเมือง |
225 |
240 |
465 |
180 |
|
 |
2 |
|
มะปรางทักษิณ |
267 |
275 |
542 |
254 |
 |
|
3 |
|
ใหม่ร่วมใจพัฒนา |
373 |
385 |
758 |
237 |
|
 |
4 |
|
ใหม่ไทยเจริญ |
199 |
224 |
423 |
166 |
 |
|
5 |
|
ใหม่ร่วมใจสามัคคี |
295 |
282 |
577 |
218 |
|
 |
6 |
|
บ้านนาประชาสรรค์ |
199 |
224 |
423 |
115 |
 |
|
 |
|
|
รวม |
1,558 |
1,630 |
3,188 |
1,170 |
 |
|
|
   |
|
   |
|
  
   |
|
|
|
|